สภาพเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจจังหวัดบุรีรัมย์
โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อพิจารณาจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ณ ราคาคงที่ ปี 2552 พบว่าภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดบุรีรัมย์ขึ้นกับภาคการค้าส่งค้าปลีก ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญตามลำดับภาวะเศรษฐกิจจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมในปี 2553 ชะลอตัวจากปีก่อน พิจารณาจาก
- เศรษฐกิจด้านอุปทาน : การผลิตโดยรวมขยายตัวจากปีก่อน ชี้วัดได้จาก การผลิตภาคเกษตรกรรม โดยมูลค่ารวมของสาขาเกษตรขยายตัวจากปีก่อน ตามปริมาณผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และยางพาราที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาข้าวเปลือก อ้อย และยางพารา ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิต เช่นเดียวกับ ภาคการบริการและการท่องเที่ยว ขยายตัว จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย ตามมาตรการเพิ่มวันหยุดต่อเนื่องของภาครัฐบาลในเดือนเมษายนและเดือนสิงหาคม และ สาขาเหมืองแร่ เหมืองหิน ขยายตัว ขณะที่ การผลิตภาคอุตสาหกรรม ชะลอตัวเมื่อเทียบกับ ปีก่อน ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศ
- เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ : การอุปโภคบริโภคภายในจังหวัดขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน จาก ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น จากราคาสินค้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่และ จำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากช่วงปลายปีราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปริมาณจำหน่ายสุราและเบียร์ที่จำหน่ายในจังหวัด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามความต้องการบริโภคของประชาชน ขณะที่ การลงทุนของภาคเอกชน หดตัว เห็นได้จากนักลงทุนชะลอการลงทุนและเลิกกิจการในภาคการค้าและการก่อสร้างลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก และความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง
ด้านการใช้จ่ายภาครัฐ มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดย การเบิกจ่ายงบประจำ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากส่วนราชการได้เร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบรายจ่ายประจำในส่วนของค่าตอบแทน ซื้อวัสดุและบริการให้เป็นตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และการเบิกจ่ายงบลงทุน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายงบลงทุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ และหมวดเงินอุดหนุนทั่วไป อีกทั้งรัฐบาลมีมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนในส่วนของโครงการที่ยังไม่ลงนามในสัญญาให้เจรจาส่งมอบงานให้ทันกำหนดประกอบกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ประกาศใช้เร็วกว่าปีก่อนจึงทำให้การเบิกจ่ายงบลงทุนเพิ่มขึ้น
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ : ด้านการเงิน ปริมาณเงินฝากและปริมาณสินเชื่อในระบบธนาคารภายในจังหวัดบุรีรัมย์ เพิ่มขึ้นปีก่อน ส่วน สถานการณ์ด้านการจ้างงานภายในจังหวัด ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน พิจารณาจาก อัตราการว่างงาน ที่ลดลงจากปีก่อน สำหรับ อัตราเงินเฟ้อ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.09 เป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ปรับตัวลดลง
การอุตสาหกรรมสถานประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2553 (31 ตุลาคม 2553) มีสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมแยกตามประเภท 21 สาขาจำนวน รวม 468 โรงงาน ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์สภาพทางเศรษฐกิจตาม(สศช.)จากรายงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2552 จังหวัดบุรีรัมย์มีรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 60,490 ล้านบาท แยกเป็นภาคเกษตร 14,787 ล้านบาท ภาคนอกเกษตร 45,702 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 36,827 บาท ซึ่งจัดเป็นอันดับที่ 14 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอันดับที่ 71 ของประเทศไทยการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งออกเป็น 4 เขตการศึกษา ได้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 รับผิดชอบ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอลำปลายมาศ อำเภอบ้านด่าน และอำเภอชำนิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 รับผิดชอบ อำเภอกระสัง อำเภอประโคนชัย อำเภอบ้านกรวด อำเภอพลับพลาชัย และอำเภอห้วยราชสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 รับผิดชอบ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอหนองกี่ อำเภอละหานทราย อำเภอปะคำ อำเภอหนองหงส์ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอโนนดินแดง และอำเภอนางรองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 รับผิดชอบ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอคูเมือง อำเภอสตึก อำเภอแคนดง อำเภอพุทไธสง และอำเภอนาโพธิ์